Solar Rooftop ใช้แบตเตอรี่แบบไหน (3)

Solar Rooftop ใช้แบตเตอรี่แบบไหน ?

Solar Rooftop ใช้แบตเตอรี่แบบไหน ? Solar Rooftop มีแบตเตอรี่เป็นองค์ประกอบ แต่หลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าแบตเตอรี่ขแง Solar Rooftop นั้นไม่เหมือนกับแบตเตอรี่ทั่ว ๆ ไปที่วางขายตามท้องตลาด เพราะเหตุนี้แอดมินจึงนำสาระความรู้ในเรื่องของแบตเตอรี่ Solar Rooftop มาฝากนั่นเอง จะน่าสนใจแค่ไหน ตามแอดมินมาดูกันเลยค่ะ

Solar Rooftop ใช้แบตเตอรี่แบบไหน ?
  • แบตเตอรี่ Solar Rooftop แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
  1. แบตเตอรี่ Deep Cycle ชนิดน้ำ 

เป็น แบตเตอรี่ ชนิดที่ใช้งานมากที่สุดในระบบ Solar Rooftop เพราะเมื่อเปรียบเทียบกันต่อ Ah แล้วเป็นแบตเตอรี่ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด  แต่ก็เป็นชนิดที่ต้องการการบำรุงรักษาอยู่เสมอ เช่น การเติมน้ำกลั่น ทำความสะอาดขั้วแบต ส่วนการติดตั้งต้องติดตั้งวางในลักษณะตั้งขึ้นเท่านั้น แต่แบตเตอรี่ชนิดน้ำที่เป็น maintenance freeหรือชนิดที่ไม่ต้องการการบำรุงรักษานั้น เป็นเพียงชนิดที่ออกแบบให้มีอายุการใช้งานที่สั้นลง

  1. แบตเตอรี่ Deep Cycle ชนิดแห้ง หรือ ชนิดมีวาล์วปรับแรงดันภายใน

ชนิดแห้งหรือชนิดมีวาล์วแรงดันภายใน เป็นแบตเตอรี่ Solar Rooftop ที่มีโครงสร้างเป็นระบบปิดไม่ต้องการการบำรุงรักษา ควบคุมแรงดันของสารละลายด้วยวาล์วปรับแรงดันที่อยู่ภายในแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือชนิด GEL และชนิด AGM

  • แบตเตอรี่ ชนิด GEL (GEL type deep cycle battery)

เป็นชนิดที่มีการนำเอาผงซิลิกา เติมลงไปสารละลายในแบตเตอรี่ทำให้สารละลายกลายเป็นเจลเพื่อลดการเกิดก๊าซและลดการกระเพื่อมของสารละลายที่อยู่ภายในการชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่ ชนิด GEL นั้นใช้แรงดันในการชาร์จน้อยกว่าและชาร์จได้ช้ากว่าแบตเตอรี่ Deep cycle ชนิดอื่น

  • แบตเตอรี่ ชนิด AGM (Absorbed Glass Mat) 

เป็นแบตเตอรี่ Solar Rooftop ชนิดที่มีการนำเอาตาข่ายไฟเบอร์กลาสใส่ลงไปในการกลั่นแต่ละเซลล์ เพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับเก็บสารละลายให้มากขึ้น เพราะตาข่ายไฟเบอร์กลาสมีความสามารถในการดูดซับสารละลายได้ดีทำให้สารละลายมีปริมาณมากขึ้นเพื่อให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ Solar Rooftop มากขึ้น แบตเตอรี่ Solar Rofotop ชนิด AGM เป็นชนิดมีวาล์วปรับแรงดันภายใน VRLA และเป็นระบบปิด

Solar Rooftop ใช้แบตเตอรี่แบบไหน ?
  • วิธีการเชื่อมต่อแบตเตอรี่ Solar Rooftop
  1. ต่อแบบอนุกรม : เป็นการต่อแบบเรียงกันเป็นแถวเดียว เชื่อมด้วยสายพ่วงต่อกันไปเรื่อยๆ เหมือนรถไฟ ข้อดีคือจะได้ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น และได้กระแสไฟฟ้าเท่าเดิม
  2. ต่อแบบขนาน : เป็นการต่อแบบขนาบข้างกัน คล้ายกับการต่อแถวตั้งแต่ 2 แถวขึ้นไป แล้วรวมจุดปลายที่ขั้วบวกเข้าด้วยกัน พร้อมกับรวมจุดปลายที่ขั้วลบเข้าด้วยกัน ข้อดีคือจะได้ค่ากระแสไฟเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่แรงดันไฟฟ้ายังคงเดิม
  3. ต่อแบบผสม : เป็นการต่อผสมผสานระหว่างการต่อแบบอนุกรมและขนาน เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ลงตัว สามารถดึงข้อดีของแต่ละแบบมารวมกัน จนกระทั่งเหมาะสมกับการใช้งานของเรามากที่สุด ส่วนใหญ่วงจรไฟฟ้าที่ใช้งานจริงก็มักจะเป็นแบบผสมนี่เอง 

หากติดตั้ง Solar Rooftop ไปได้สักระยะแล้วแอดมินแนะนำว่าให้ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของแผง Solar Rooftop และตรวจสอบแบตเตอรี่ของ Solar Rooftop อยู่เสมอ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพอยากสูงสุด และตรวจเช็คการเชื่อมสภาพของอุปกรณ์ Solar Rooftop ใหเพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

หรือหากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิต Solar Rooftop Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตและจำหน่าย Solar Rooftop รายใหญ่ในประเทศ ที่ดำเนินงานโดยทีมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 50 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ