หากใครสนใจที่จะปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง และกำลังมองหาเมล็ดพันธุ์อยู่หล่ะก็ ในบทความนี้มีคำตอบให้ค่ะ กับ 5 พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ ไวต่อแสงแดด ที่สามารถปลูกในภาคกลางของประเทศไทยได้
1. ข้าวพันธุ์ตะเภาแก้ว 161 (Ta – pow Gaew 161)
เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดเมื่อปี พ.ศ.2498 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกแบบ คัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์ ตะเภาแก้ว 55-161 เป็นข้าวพันธุ์ชนิดข้าวเจ้า เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง และให้ผลผลิต 350 กิโลกรัม ต่อไร่
ลักษณะของข้าวพันธุ์ตะเภาแก้ว 161
- เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ลึกไม่เกิน 2 เมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 9 ธันวาคม
- ลำต้นสูง ใบสีเขียวยาวแต่ค่อนข้างแคบ ลำต้น กาบใบและขอบใบสีม่วง แต่จะจางลงเมื่อระดับน้ำในนาสูงขึ้น และข้าวโตขึ้นจนถึงระยะออกรวง สีม่วงจะจางหายไป แตกกอปานกลาง เมล็ดยาวเรียว
- ข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ท้องไข่น้อย
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.1 x 2.5 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.5 x 1.7 มิลลิเมตร
- ประมาณอมิโลส 30-32%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง
ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์ตะเภาแก้ว 161
- อายุเก็บเกี่ยวเหมาะกับสภาพนาข้าวขึ้นน้ำที่น้ำแห้งเร็ว
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
- ขึ้นน้ำได้ดีปานกลาง
ข้อควรระวังในการปลูกข้าวพันธุ์ตะเภาแก้ว 161
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
2. ข้าวพันธุ์ นางฉลอง (Nahng Cha – lawng)
ได้จากการรวบรวมจากข้าวพันธุ์พื้นเมือง โดยเจ้าหน้าที่สถานีทดลองข้าวหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวชนิดข้าวเหนียว เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง และให้ผลผลิต 394 กิโลกรัม ต่อไร่
ลักษณะของข้าวพันธุ์นางฉลอง
- เป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ลึกไม่เกิน 150 เซนติเมตร
- มีความไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน
- ลำต้นสูง กาบใบสีเขียวจาง ใบสีเขียว ใบยาวและกว้าง สามารถยึดปล้องปานกลาง ข้อปล้องส่วนกลางและปลายของต้นยาว มีรากออกจากข้อที่อยู่ในน้ำเหนือผิวดิน
- ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดร่วงง่าย
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.1 x 2.7 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.9 x 7.3 x 1.9 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม
ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์นางฉลอง
- ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล
ข้อควรระวังในการปลูกข้าวพันธุ์นางฉลอง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
3. ข้าวพันธุ์ ปิ่นแก้ว 56 (Pin Gaew 56)
เป็นข้าวที่ชนะการประกวดในปี พ.ศ.2498 จึงได้นำรวงมาปลูกแบบรวงต่อแถว แล้วคัดเลือกรวงที่ดีที่สุด จนได้สายพันธุ์ที่ 56 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวชนิดข้าวเจ้า เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง และให้ผลผลิต 362 กิโลกรัม ต่อไร่
ลักษณะของข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว 56
- เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ในระดับน้ำไม่เกิน 5 เมตร
- มีความไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 29 ธันวาคม
- ลำต้นสูง ใบยาวสีเขียว ลำต้นและกาบใบสีเขียวอ่อน แตกกอปานกลาง มีความสามารถในการขึ้นน้ำได้ดี เหมาะที่จะปลูกในที่นาลุ่ม ระดับน้ำลึกประมาณ 1- 4 เมตร และน้ำแห้งช้า
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.7 x 2.6 x 1.9 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.4 x 2.2 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณ อมิโลส 23 – 31 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง
ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว 56
- มีความสามารถในการแตกแขนง และแตกรากที่ข้อเหนือผิวดินในน้ำ และมีการชูรวงดี
- คุณภาพการสี ข้าวสารใสแกร่ง
- ทนน้ำลึกได้ดี (ไม่เกิน 5 เมตร)
ข้อควรระวังในการปลูกข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว 56
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคกาบใบเน่า โรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลิ้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกอ และแมลงบั่ว
4.ข้าวพันธุ์ พลายงามปราจีนบุรี (Plai Ngahm Prachin Buri)
เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้จากการเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ โดยนายเพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2523 ปลูกคัดเลือกแบบหมู่ จนได้พันธุ์บริสุทธิ์มา ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ชนิดข้าวเจ้า เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีระดับน้ำลึกมากกว่า 1 เมตร ท่วมขังเป็นเวลานาน ตั้งแต่ 1 เดือน และน้ำแห้งนาปลายเดือนธันวาคม และให้ผลผลิต 380 กิโลกรัม ต่อไร่
ลักษณะของข้าวพันธุ์พลายงามปราจีนบุรี
- เป็นข้าวขึ้นน้ำพันธุ์พื้นเมือง สูงประมาณ 240 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 ธันวาคม
- ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาว ระแง้ถี่ การชูรวงดี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.6 x 2.8 x 2.1 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.4 x 1.8 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่ปานกลาง
- ปริมาณอมิโลส 27 – 28 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง
ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์พลายงามปราจีนบุรี
- ขึ้นน้ำได้ดี ในระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร และท่วมขังนานกว่า 1 เดือน
- ทนแล้งได้ดี
- ต้านทานโรคไหม้ ในระยะกล้าดี
- แปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว คุณภาพดี มีความนุ่มเหนียว
ข้อควรระวังในการปลูกข้าวพันธุ์พลายงามปราจีนบุรี
- ไม่ต้านทานต่อโรคใบหงิก โรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว
5.ข้าวพันธุ์เล็บมือนาง 111 (Leb Meu Nahng 111)
ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองโดยนายสุรศักดิ์ แสงสวาสดิ์ ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์ เล็บมือนาง 14 – 12 – 111 เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ข้าวขึ้นน้ำในภาคกลาง และให้ผลผลิต 328 กิโลกรัม ต่อไร่
ลักษณะของข้าวพันธุ์ เล็บมือนาง 111
- เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมือง สามารถขึ้นน้ำได้ในน้ำลึกไม่เกิน 4 เมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 19 ธันวาคม
- ลำต้นสูง แตกกอปานกลาง ลำต้นและกาบใบสีเขียวอ่อน ใบกว้างและยาวสีเขียว รวงใหญ่ เมล็ดร่วงง่าย มีความสามารถยืดตัวตามน้ำได้ ชูรวงดี
- เมล็ดข้าวเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง ท้องไข่ค่อนข้างมาก
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.8 x 2.1 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.1 x 2.3 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 29 – 32 %
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง
ลักษณะเด่นของข้าว เล็บมือนาง 111
- ขึ้นน้ำได้ดี ชูรวงดี
- ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยวได้ดี
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
ข้อควรระวังในการปลูกข้าวพันธุ์ เล็บมือนาง 111
- ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
รถเกี่ยวข้าวราคา.com เป็นศูนย์รวมรถเกี่ยวข้าวราคาถูก และอะไหล่รถเกี่ยวข้าวคุณภาพดี คุณสามารถเช็กราคารถเกี่ยวข้าวทุกรุ่นได้ ตั้งแต่รถเกี่ยวข้าวคูโบต้า ไปจนถึงรถเกี่ยวข้าวจ้าวช้างไวไฟ พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน ฟรี! สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถเกี่ยวข้าว และอะไหล่รถเกี่ยวข้าว ติดต่อได้ที่ 062-424-1394
ขอบคุณข้อมูลจาก