ผู้อ่านตอบแอดมินมาในใจนะคะ ว่าผู้อ่านเคยทำสิ่งต่อไปนี้กับรถเกี่ยวข้าวของท่านหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นกับรถเกี่ยวข้าวรุ่นใหม่ล่าสุด หรือรถเกี่ยวข้าวมือสองก็ตาม
- เมื่อผู้อ่านใช้รถเกี่ยวข้าวเสร็จ ผู้อ่านก็ทิ้งรถเกี่ยวข้าวไว้ โดยไม่มีการทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวเลย
- ผู้อ่านนำรถเกี่ยวข้าวออกมาใช้ โดยไม่มีการตรวจสอบความเรียบร้อยของส่วนประกอบและอะไหล่รถเกี่ยวข้าวเลย
หากผู้อ่านมีพฤติกรรมแบบที่แอดมินได้กล่าวมาข้างต้นแล้วหล่ะก็ แอดมินบอกได้เลยค่ะว่า รถเกี่ยวข้าวของท่านจะไม่สามารถคืนทุนให้กับท่านได้อย่างเต็มที่ และรถเกี่ยวข้าวจะกลายเป็นภาระให้กับท่าน แทนที่จะเป็นเครื่องทุ่นแรงในการเก็บเกี่ยวได้ค่ะ เพราะฉะนั้นแอดมินแนะนำให้ผู้อ่านหมั่นตรวจสอบ และบำรุงรักษาส่วนประกอบและอะไหล่รถเกี่ยวข้าวเป็นประจำ โดยผู้อ่านสามารถปฏิบัติตาม 10 ขั้นตอนในการบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าวนี้ได้เลย หากผู้อ่านอยากยืดอายุการใช้งานของรถเกี่ยวข้าวของคุณให้นานยิ่งขึ้นค่ะ
1. ทุก ๆ ครั้งที่ผู้อ่านได้นำเอารถเกี่ยวข้าวออกไปใช้ ให้ผู้อ่านดึงเศษฟางหรือเศษหญ้าที่ติดตามมู่เล่ ซี่เฟือง และที่อื่น ๆ ของรถเกี่ยวข้าวออกให้หมดค่ะ
2. ดึงเศษฟางหรือเศษหญ้าที่ติดสะสมอยู่ในเครื่องเกี่ยวนวดออก เช่น ที่ตะแกรงร่อน และฟันโยกของรถเกี่ยวข้าว
3. ทำความสะอาดถาดรับเมล็ดและตะแกรงร่อน และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อราที่เกิดจากความชื้นค่ะ
4. ทำความสะอาดส่วนล่างของฟันโยก และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง เพราะความชื้นจะก่อให้เกิดการสะสมของระแง้ ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันได้ค่ะ
5. ทำความสะอาดลูกนวดทุก ๆ ครั้ง หลังจากใช้งานรถเกี่ยวข้าวเสร็จ
6. ทำความสะอาดฟันของลูกนวดอย่างสม่ำเสมอ เพราะสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่ฟันของลูกนวด จะทำให้ลูกนวดเกิดความไม่สมดุล และเมื่อเปิดการหมุนของลูกนวด จะทำให้เกิดการสั่นได้ค่ะ
7. ตรวจสอบและปรับแต่งใบมีดเป็นประจำ และหากพบว่า ใบมีดหักหรือบิ่นให้ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ในทันที ไม่อย่างนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพของผลผลิตค่ะ
8. ตรวจสอบความตึงของโซ่และสายพานของรถเกี่ยวข้าว
9. หยอดน้ำมันเครื่องและอัดน้ำมันจารบีลงไปในทุก ๆ จุดที่ได้ระบุไว้ในหนังสือคู่มือรถเกี่ยวข้าว
10. บำรุงรักษาเครื่องยนต์และระบบเกียร์
แต่ถ้าเราแบ่งวิธีการบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าวตามระยะเวลา โดยยึดตามหลักของ รศ.วิชา หมั่นทำการ (อาจารย์ศูนย์เครื่องกลการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน) จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ช่วง ตามข้อมูลข้างล่างนี้ค่ะ
1. การบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าวในทุก ๆ วัน
โดยให้หมั่นตรวจเช็กน้ำมันเครื่อง น้ำในหม้อน้ำ หม้อกรองอากาศ และตรวจเช็กความตึงของสายพาน ก่อนที่จะนำเอารถเกี่ยวข้าวออกไปใช้ในตอนเช้า หรือหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จในตอนเย็นค่ะ และต้องมีการทำความสะอาดตะแกรงลูกนวดทุกวัน เพื่อไม่ให้เศษฟางหรือเศษไม้เข้าไปอุดตันการทำงานของรถเกี่ยวข้าวค่ะ
2. การบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าวอาทิตย์ละครั้ง
โดยหยอดน้ำมันและอัดจารบีใน ลูกปืน เพลา มู่เล่ จุดหมุนต่าง ๆ ของรถเกี่ยวข้าว
3. การบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าวเดือนละครั้ง
โดยให้ผู้อ่านตรวจเช็กความตึงของสายพานตีนตะขาบและสายพานเครื่องเกี่ยวนวด หากหย่อนยาน ให้ผู้อ่านเร่งหัวน๊อตให้ตึงค่ะ และอย่าลืมเช็กน้ำมันในเครื่องปั๊มไฮโดรลิคให้แน่ใจว่ามีน้ำมันอยู่เต็มถังด้วยนะคะ
4. การบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าว 3 เดือนต่อครั้ง
โดยให้ผู้อ่านทำการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ เปลี่ยนสายพานบางเส้นที่สึกหรอ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ตรวจเช็กระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่ อัดจารบีในอะไหล่รถเกี่ยวข้าว เช่น ลูกปืน พัดลม มู่เล่ เป็นต้น และหยอดน้ำมันเครื่องลงไปใน ล้อโน้มข้าว และมีดตัดต้นข้าว
5. การบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าว 6 เดือนต่อครั้ง
โดยให้ผู้อ่านตรวจเช็กความสึกหรอของแผ่นคลัช และผ้าเบรก หากแผ่นคลัชและผ้าเบรกของรถเกี่ยวข้าวมีการสึกหรอ แอดมินแนะนำให้ผู้อ่านทำการเปลี่ยนใหม่แผ่นคลัชและผ้าเบรกทันทีค่ะ
ฉะนั้น เมื่อผู้อ่านได้ซื้อรถเกี่ยวข้าวมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจากการซื้อรถเกี่ยวข้าวรุ่นใหม่ล่าสุด หรือรถเกี่ยวข้าวมือสองก็ตาม ผู้อ่านจำเป็นต้องทำการบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าวเป็นประจำ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้กับรถเกี่ยวข้าวของคุณค่ะ และที่สำคัญ หากผู้อ่านมีการบำรุงรักษารถเกี่ยวข้าวที่ดีแล้ว เมื่อถึงเวลาปล่อยขายรถเกี่ยวข้าวมือสอง จะทำให้ขายได้ในราคาที่สูงกว่ารถเกี่ยวข้าวที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมค่ะ
รถเกี่ยวข้าวราคา.com เป็นศูนย์รวมรถเกี่ยวข้าว และอะไหล่รถเกี่ยวข้าวคุณภาพดี ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ตั้งแต่รถเกี่ยวข้าวคูโบต้า ไปจนถึงรถเกี่ยวข้าวจ้าวช้างไวไฟ