แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเผาอ้อย

แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเผาอ้อย

แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเผาอ้อย การเผาพืชตามไร่นา สำหรับภาคอีสานมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศและมักประสบปัญหา PM 2.5 ในช่วงเก็บเกี่ยวอ้อย โดยปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงที่อากาศแล้งและมีปริมาณฝนน้อย เนื่องจากการชะล้างฝุ่นละอองเป็นไปอย่างจำกัด การเผาอ้อยจึงอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาดังกล่าว ด้วยยุคสมัยก่อนรถตัดอ้อยยังไม่มีเข้ามาในเมืองไทย การตัดอ้อยด้วยการเผาจึงเป็นวิธีที่ง่ายและใช้กับทุก ๆ ไร่อ้อย แต่สมัยนี้คนไทยได้คิดค้นรถตัดอ้อยไทย เพื่อการตัดอ้อยที่ง่ายและสะดวกมากขึ้น แต่ชาวไร่อ้อยหลายคนยังเชื่อว่าการตัดอ้อยสดพักใบคลุมดินจะทำให้อ้อยแตกหน่อน้อย มีจำนวนลำน้อย ลำอ้อยมีขนาดใหญ่ ขณะที่การเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวจะทำอ้อยแตกหน่อเร็ว มีจำนวนหน่อมากแต่จะหน่อขนาดเล็กลง

แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเผาอ้อย

แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเผาอ้อยพบว่ามีอยู่อย่างน้อย 3 หลักการด้วยกัน

  1. อ้อยไฟไหม้ตัดง่ายกว่าและรายได้ดีกว่า ไม่ต้องเสียเวลาลอกกาบใบ ปัญหาคาดแคลนแรงงานตัดอ้อย ส่งผลให้แรงงานมีอำนาจการต่อรองในการตัดอ้อยไฟไหม้ที่สูงขึ้น
  2. รถตัดอ้อยมีน้อย ราคาแพง และไม่เหมาะสมกับพื้นที่ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการเก็บเกี่ยวโดยใช้รถตัดอ้อยและแรงงาน พบว่า การเช่ารถตัดอ้อยมีต้นทุนที่สูงกว่าการจ้างแรงงานประมาณ 1,000 – 1,400 บาท/ไร่ เนื่องจากรถตัดอ้อยมีจำนวนน้อยเพราะมีราคาสูงถึง 6-12 ล้าน ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมากสำหรับการลงทุนของเกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้รถตัดอ้อยอาจไม่เหมาะสมกับกรณีไร่อ้อยในไทย เนื่องจากระยะห่างในไร่ที่เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ปลูกมีความกว้างน้อยกว่าขนาดหน้ากว้างของตัวรถตัดอ้อย
  3. โรงงานน้ำตาลให้คิวอ้อยไฟไหม้ก่อนอ้อยสด เนื่องจากหากโรงงานไม่รีบซื้อภายใน 48 ชั่วโมง ค่าความหวานและน้ำหนักของอ้อยไฟไหม้จะลดลงเร็วกว่าอ้อยสด โดยหากทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ อ้อยสดจะมีน้ำหนักลดลงร้อยละ 14 ในขณะที่อ้อยไฟไหม้จะมีน้ำหนักลดลงถึงร้อยละ 20
แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเผาอ้อย

แนวทางแก้ไขการเผาอ้อยที่น่าสนใจ

  1.  เพิ่มค่าปรับให้รุนแรงขึ้นและเพิ่มเงินจูงใจให้ใช้รถตัดอ้อยตัดอ้อยสดมากขึ้น โดยให้โรงงานเป็นผู้จ่ายส่วนเพิ่ม ซึ่งแนวคิดนี้มีความน่าสนใจที่ว่า เงินที่หักเพิ่มขึ้นไม่ควรแต่คำนึงถึงต้นทุนเอกชน แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมที่รวมต้นทุนภายนอกเข้ามาด้วย เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และจำเป็นต้องมีการศึกษากลไกเพิ่มเติมว่า แนวทางที่เป็นไปได้ควรเป็นอย่างไร เงินจูงใจที่จ่ายจำเป็นต้องตกไปถึงแรงงานตัดอ้อยหรือไม่จึงจะทำให้กลไกสำเร็จ
  2.  ควรสำรวจความต้องการใช้รถตัดอ้อยในแต่ละพื้นที่ พัฒนารถตัดอ้อยที่เหมาะกับแปลงในไทย รวมทั้งวางระบบคิว เพื่อให้การใช้งานรถตัดอ้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากบทความเรื่อง แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเผาอ้อย จะสามารถทำให้ชาวไร่เห็นถึงผลเสียของการเผาอ้อย และผลดีของการใช้รถตัดอ้อยตัดอ้อยสด เพราะรถตัดอ้อยช่วยลดปัญหาฝุ่นควันและเพื่อให้ได้อ้อยดีมีคุณภาพ แล้วยังทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน สำหรับผู้ที่สนใจในรถตัดอ้อย หากคุณต้องการปรึกษาเพิ่มเติม Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยคุณภาพดี เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจำหน่ายและรับผลิตรถตัดอ้อย ซึ่งมีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 50 ปีที่น่าเชื่อถือ มีผลงานการันตีคุณภาพ และยังจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอ้อย รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และพร้อมให้คำแนะนำในการใช้งานแก่ทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องมากที่สุด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency