เทคนิคการบำรุงรักษาระบบปรับสภาพลมอัด

เทคนิคการบำรุงรักษาระบบปรับสภาพลมอัด

เทคนิคการบำรุงรักษาระบบปรับสภาพลมอัด

เทคนิคการบำรุงรักษาระบบปรับสภาพลมอัด

เทคนิคการบำรุงรักษาระบบปรับสภาพลมอัด ในระบบนิวเมติกส์ที่ใช้เครื่องอัดลมจ่ายพลังงาน ซึ่งลมอัดมักจะมีปัญหาเรื่องความชื้น และฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่ในบรรยากาศ จึงจำเป็นต้องกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ออกก่อนที่จะนำไปใช้งาน ซึ่งวันนี้แอดมินมีเทคนิคในการบำรุงรักษาระบบปรับสภาพลมอัดมาฝากกันนะคะ จะเป็นอย่างไรตามไปดูกันเลยค่ะ

ในการกำจัดสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในบรรยากาศ ซึ่งการใช้กรองลมทำความสะอาดลมเพื่อกำจัดฝุ่นละออง และความชื้น ในบางครั้งอากาศอาจจะมีปริมาณความชื้นมาก ดังนั้นในระบบจำเป็นจะต้องมีเครื่องทำให้อากาศแห้ง สำหรับกรองลม และเราควรจะต้องทำความสะอาดทุก ๆ 100 ชั่วโมงของการทำงาน หรือประมาณ 3 เดือน โดยการนำเอากรองลมมาล้างทำความสะอาด (ในกรณีที่กรองลมทำด้วยวัสดุที่เป็นโลหะซินเตอร์) แต่ถ้ากรองกระดาษก็ใช้ลมเป่าอย่างเดียว หากท่อทางเข้าของลมอัดกับท่อทางออกของลมอัดมีค่าความกดดันตกคร่อมเกินกว่า 1 บาร์เมื่อไร ให้เปลี่ยนกรองใหม่ไปเลยจะดีกว่า เพราะสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปภายในระบบ อาจก่อให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์นิวเมติกส์ได้

สิ่งแปลกปลอมที่มีในลมอัดมีผลต่ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะมีอายุการใช้งานนานหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพลมอัดว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมที่ปนมากับลมอัดจะมีดังนี้

  1. ความชื้น สาเหตุส่วนใหญ่จะมาจากลมอัดที่ประกอบด้วยไอน้ำจำนวนมาก เพราะเครื่องอัดลมจะอัดลมจากบรรยากาศ ซึ่งมีค่าความชื้นสูง ค่าความชื้นของอากาศในประเทศไทยโดยทั่วไปมีค่าความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 60% ซึ่งส่วนผสมของไอน้ำในอากาศจะไม่คงที่เสมอไป จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย สำหรับแนวทางแก้ไขในการระบายน้ำที่เกิดจากความชื้น สามารถทำได้โดยใช้เครื่องระบายความร้อนลมอัดเพื่อดักเอาไว้ก่อน ถ้ายังมีความชื้นปนอยู่ก็อาจจะใช้เครื่องทำอากาศแห้งติดตั้งเข้าไปในระบบอีกทีหนึ่งอย่าง จะช่วยทำให้ความชื้นที่เจือปนไปกับลมอัดมีค่าน้อยลง
  2. น้ำมันหล่อลื่นที่ปนไปกับลมอัด สาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากการสึกหรอของแหวนลูกสูบของเครื่องอัดลม ซึ่งจะทำให้ละอองน้ำมันหล่อลื่นเล็ดลอดขึ้นมาผสมกับลมอัดภายในกระบอกสูบนิวเมติกส์ได้ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมักเกิดขึ้นกับเครื่องอัดลมประเภทลูกสูบ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องใช้กรองลมที่มีขนาดละเอียด 2 ถึง 40 ไมครอนมากรองเพื่อแยกน้ำมันออกจากลมอัดในกรณีที่อุปกรณ์ของระบบนิวเมติกส์ไม่ต้องการน้ำมันหล่อลื่น แต่ถ้าต้องการกรองละเอียดมากอาจจะใช้กรองที่มีความสามารถในการกรอง 0.8 ถึง 0.01 ไมครอนกรอง แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ต้องการน้ำมันหล่อลื่นไปหล่อลื่นอุปกรณ์ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้กรองละเอียดมาก ๆ ก็ได้
  3. สารออกไซด์ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากคาร์บอน และน้ำมันดิบที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น เมื่อเครื่องอัดอากาศระบบลูกสูบทำงานจะอัดอากาศให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงมีผลทำให้น้ำมันหล่อลื่นเกิดออกไซด์แยกตัวออกมา การแก้ปัญหาดังกล่าวควรเลือกใช้กรองที่มีความสามารถในการกรองได้ละเอียดถึง 0.3 ไมครอนมาใช้ในการกรอง และควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพ และเปลี่ยนตามกำหนดเวลาที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด
  4. ฝุ่นละออง สาเหตุที่มีฝุ่นละอองมาหลายทาง ซึ่งที่มาของฝุ่นละอองที่ออกมามีอยู่ 2 แหล่งคือ ภายในระบบเอง ซึ่งได้แก่ เศษซีล เศษวัสดุ สนิม เศษของเทปพันท่อ เศษเกลียวสะเก็ดเชื่อมที่เกิดขึ้นในระบบการเดินท่อส่งลม และอีกแหล่งมาจากภายนอกซึ่งจะมีปริมาณมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของโรงงานนั้น ๆ การแก้ไขควรติดตั้งกรองที่มีคุณภาพสูงเข้าไปในระบบท่อส่งลมเมนที่หนึ่งก่อนที่จะนำลมไปผ่านกรองเข้าเครื่องจักร และหมั่นทำความสะอาดกรองทาง
  5. ข้อบกพร่องที่มาจากการหล่อลื่นในวาล์วนิวเมติกส์ ซึ่งวาล์วนิวเมติกส์บางแบบยังต้องการการหล่อลื่นอยู่ จึงจำเป็นจะต้องมีการผสมน้ำมันหล่อลื่นไปกับลมอัดอยู่ โดยน้ำมันหล่อลื่นควรจะเป็นน้ำมันไฮดรอลิค และไม่ควรให้น้ำมันหล่อลื่นผสมน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ชิ้นส่วนมีการเสียดสีกันภายในวาล์ว และซีลต่าง ๆ เกิดการสึกหรอ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปก็ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับลมอัดทางท่อระบายทิ้ง ทำให้เกิดความสกปรกได้

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : densakda.com

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency