หลักการทำงานของโซลินอยด์วาล์วระบบเปิดปิดทางอ้อม

หลักการทำงานของโซลินอยด์วาล์วระบบเปิดปิดทางอ้อม

หลักการทำงานของโซลินอยด์วาล์วระบบเปิดปิดทางอ้อม

หลักการทำงานของโซลินอยด์วาล์วระบบเปิดปิดทางอ้อม หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าโซลินอยด์วาล์วนิวเมติกส์แบบระบบเปิดปิดทางอ้อมมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงหลักการทำงานโซลินอยด์วาล์วนิวเมติกส์แบบระบบเปิดปิดทางอ้อมกันนะคะ จะเป็นอย่างไรบ้างตามแอดมินไปดูกันเลยค่ะ

โซลินอยด์วาล์วระบบเปิดปิดทางอ้อม คือ

ระบบเปิดปิดทางอ้อม (pilot control) ของโซลินอยด์วาล์ว 2 ทางแบบปกติปิด (N/C) จะมีระบบการทำงานแบบเปิดปิดทางอ้อม ซึ่งจะมีทางเข้าหนึ่งทาง และทางออกหนึ่งทาง โดยจะมีรูทางผ่านหลัก (main orifice) ที่อยู่ในตัววาล์วนั้นเปิดได้ด้วยวิธีการทำให้ความดันที่กระทำต่อพื้นผิวด้านบน และด้านล่างของแผ่นไดอะแฟรม (diaphragm) เกิดการเสียสมดุล หากในขณะที่ยังไม่มีไฟฟ้าจ่ายไปยังคอยล์ของไหล จะมีความดันส่งไปทั้งในช่องบน ซึ่งมีพื้นที่ผิวเต็มพื้นที่ของแผ่นไดอะแฟรม และในขณะเดียวกันก็มีความดันส่งไปที่พื้นผิวด้านล่าง แต่ส่งไปเฉพาะพื้นที่ผิวรอบ ๆ รูทางผ่านเท่านั้น

ซึ่งเป็นพื้นที่ที่น้อยกว่าด้านบน เมื่อต้องการให้วาล์วเปิดโดยการป้อนไฟฟ้าเข้าที่คอยล์ ทุ่น (plunger) ของโซลินอยด์วาล์วตัวช่วยจะยกเปิด และระบายของไหลซึ่งอยู่ด้านบนของไดอะแฟรมทิ้งออกไปทางรู (orifice) ย่อยของโซลินอยด์วาล์วตัวช่วย ยังผลให้เกิดการเสียสมดุลของแผ่นไดอะแฟรม เกิดการเคลื่อนที่เปิด รูทางผ่านหลักให้ของไหลไหลผ่านไปได้

หลักการทำงานของโซลินอยด์วาล์วระบบเปิดปิดทางอ้อม

โซลินอยด์วาล์วเปิด-ปิดจะอาศัยหลักการความต่างของความดัน กล่าวคือ มีการจ่ายไฟเข้าคอยล์เพื่อให้เกิดการ Pilot ของของเหลวที่อยู่ด้านบนของแผ่นไดอะแฟรม ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความดันด้านบนแผ่นไดอะแฟรมกับความดันของของไหลที่ไหลเข้ามาจึงทำให้แผ่นไดอะแฟรมยกขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการเปิด-ปิดของวาล์ว

ข้อควรระวังในการใช้โซลินอยด์วาล์วที่ทำงานด้วยระบบเปิดปิดทางอ้อม

ความดันของขาเข้า และขาออกจำต้องมีความแตกต่างกันในค่าหนึ่งตามที่กำหนดของผู้ผลิต (minimum differential pressure) เพื่อทำให้วาล์วทำงานอย่างถูกต้อง และจะเห็นได้ว่าวาล์วที่ทำงานในระบบเปิดปิดทางอ้อมต้องอาศัยตัวโซลินอยด์วาล์วที่ทำงานด้วยระบบเปิดปิดโดยตรงมาเป็นตัวช่วยในการทำงาน ดังนั้นเราจึงต้องคำนึงถึงความดันสูงสุด และกำลังของคอยล์ที่ใช้เปิด ไม่อย่างนั้นวาล์วอาจจะไม่ทำงานถึงแม้ว่าจะมีการจ่ายไฟฟ้าแล้วก็ตาม และเพื่อให้วาล์วระบบนี้ทำงานได้อย่างถูกต้อง ควรหลีกเลี่ยงการสึกหรออย่างรวดเร็วของแผ่นไดอะแฟรม

ควรออกแบบการใช้งานโดยคำนึงถึงค่า Kv (อัตราการไหลผ่านวาล์วที่ความดันต่างศักย์ 1 bar) ของตอนที่วาล์วจะปิดว่ามีอัตราการไหลในขณะนั้น ไม่เกินค่า Kv ด้วยเหตุผลดังกล่าวหากความดันของขาเข้าในขณะที่ วาล์วเปิดอยู่สูงกว่า 1 bar ต้องไม่ปล่อยให้ของไหลไหลออกทางขาออกโดยอิสระ (free outlet) จะต้องมีการจำกัดอัตราการไหลของขาออกเพื่อรักษาความต่างศักย์ของความดันขาเข้าและขาออก ไม่เกิน 1 bar มิฉะนั้นแผ่นไดอะแฟรมจะเกิดการกระแทกกับปากรูทางผ่านหลักอย่างรุนแรงเมื่อปิดวาล์วทำให้แผ่นไดอะแฟรมสึกหรอและเสียหายอย่างรวดเร็ว

ข้อดีของโซลินอยด์วาล์วระบบเปิดปิดทางอ้อม

โครงสร้างแบบนี้จะใช้กับวาล์วที่มีขนาด 3/8” ขึ้นไป โดยขณะที่คอยล์ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ (เพราะคอยล์ทำหน้าที่เพียงแค่เปิดรู Pilot) จึงทำให้ราคาถูกและเป็นที่นิยมใช้

ข้อจำกัดของโซลินอยด์วาล์วระบบเปิดปิดทางอ้อม

เนื่องจากโซลินอยด์วาล์วต้องอาศัยความดันของของไหลในการช่วยเปิด-ปิด ดังนั้นจึงไม่สามารถนำไปใช้กับงานที่มีความต่างของความดันต่ำได้

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : mall.factomart.com

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : pneumatic_online@thai-a.co.th

Line ID : @pneumaxthailand