หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของเครื่องกลึง

หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของเครื่องกลึง

หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของเครื่องกลึง

หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของเครื่องกลึง

1.ชุดหัวเครื่องกลึง (Head Stock)

ชุดส่วนที่อยู่ซ้ายสุดของเครื่อง ใช้ในการขับหัวจับ หรือขับชิ้นงานให้หมุนด้วยความเร็วรอบต่าง ๆ

มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  • ชุดส่งกำลัง (Transmission)เครื่องกลึงจะส่งกำลังขับงานกลึงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor)โดยส่งกำลังผ่านสายพานลิ่ม (V-Belt) และผ่านชุดเฟือง (Gear) mสามารถปรับความเร็วรอบได้ระดับต่าง ๆ เพื่อไปขับเพลาหัวจับงาน (Spindle) ให้หมุน

สำหรับเครื่องกลึงรุ่นเก่าจะปรับความเร็วรอบของเพลาหัวจับงานโดยใช้ล้อสายพาน (Pulley) ที่มีหลายขั้น ซึ่งแต่ละขั้นจะให้ความเร็วรอบแตกต่างกัน

  • ชุดเฟืองทด (Gears)ใช้ทดความเร็วรอบในการกลึงมี 2 ชุด คือ ชุดที่อยู่ภายในหัวเครื่องและชุดที่อยู่ภายนอกหัวเครื่องกลึง
  • แขนปรับความเร็วรอบ (Spindle Speed Selector)เป็นแขนที่อยู่ส่วนบนหรือส่วนหน้าของเครื่องใช้สำหรับโยกเฟืองที่อยู่ภายในหัวเครื่องให้ขบกันเพื่อให้ได้ความเร็วรอบต่าง ๆตามต้องการ
  • แขนปรับกลึงเกลียว (Lead Screw and Thread Rang Level)เป็นแขนสำหรับปรับเฟืองในชุดกล่องเฟือง (Gear Box) เพื่อกลึงเกลียวโดยที่เพลากลึงเกลียวหมุนขับป้อมมีดให้เดินกลึงเกลียวบนชิ้นงาน
  • ชุดเพลาหัวเครื่องกลึง (Spindle)มีลักษณะรูปทรงกระบอกเจาะรูกลวงตลอดด้านหน้าจะเป็นรูเรียวแบบมอร์สเพื่อใช้ประกอบกับหัวศูนย์ เพลาหัวเครื่องกลึงใช้จับกับหัวจับเครื่องกลึง มี 4 แบบ คือเพลาหัวเครื่องกลึงแบบเกลียว เพลาหัวเครื่องกลึงแบบเรียว เพลาหัวเครื่องกลึงแบบลูกเบี้ยว และเพลาหัวเครื่องกลึงแบบสกรูร้อย

2.ชุดแท่นเลื่อน (Carriage)
ชุดแท่นเลื่อน เป็นส่วนประกอบที่ใช้ควบคุมและรองรับเครื่องมือตัดเพื่อให้เครื่องมือตัดของเครื่องกลึงเลื่อนไป-มาในทิศทางตามแนวยาวหรือตามขวางของสะพานแท่นเครื่อง ชุดแท่นเลื่อนมีส่วนประกอบสำคัญ2 ส่วน คือ ชุดแคร่คร่อม (Saddle) และชุดกล่องเฟือง (Apron)

  • แคร่คร่อม (Saddle)เป็นส่วนที่อยู่บนสะพานแท่นเครื่อง (Bed) เพื่อรองรับชุดป้อมมีด และชุดกล่องเฟือง แคร่คร่อมสามารถเลื่อนไป-มาในแนวนอน ซึ่งใช้ในงานกลึงปอก
  • แท่นเลื่อนขวาง (Cross Slide)เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแคร่คร่อม สามารถเลื่อนไป-มาด้วยสกรู ใช้ในการกลึงปาดหน้า หรือป้อนลึก
  • แท่นเลื่อนบน (Compound Rest)เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นปรับองศา สามารถเลื่อนไป-มา ด้วยชุดสกรู ใช้ในการกลึงเรียว (Taper) หรือกลึงมุมต่าง ๆ หรือใช้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับแท่นเลื่อนขวาง

ที่ปรับองศา เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นเลื่อนขวางและอยู่ใต้แท่นเลื่อนบน สามารถปรับเป็นองศาต่าง ๆ

3.ชุดกล่องเฟือง (APRON)
ประกอบด้วยเฟืองทด ใช้ในกรณีกลึงอัตโนมัติ ชุดกล่องเฟืองประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังรูปที่ 4.20
1. มือหมุนแท่นเลื่อน (Traversing Hand Wheel) ใช้สำหรับหมุนชุดแท่นเลื่อนให้เคลื่อนที่ในแนวซ้าย – ขวา
2. แขนโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ (Fed Selector) ใช้สำหรับโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ
3. แขนโยกกลึงเกลียว (Lead screw Engagement Lever) ใช้สำหรับโยกกลึงเกลียว

  1. ปุ่มดึงสำหรับกลึงเกลียว (Controls Forward or Reverse) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนชุดเฟืองกลึงเกลียว
  2. ปุ่มดึงสำหรับกลึงปอกผิวอัตโนมัติ (Feed Lever) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนทิศทางการเดินป้อนอัตโนมัติของแท่นเลื่อนขวางหน้าหลัง

4.ป้อมมีด (Tool Post)

เป็นส่วนที่อยู่บนสุดใช้จับยึดมีดกลึง มีดคว้าน สำหรับกลึงงานป้อมมีดมีหลายชนิด เช่น ชนิดมาตรฐาน (Standard-type Lathe Tool Post) ชนิดสะพาน 4 มีด (Four-way Turret Tool Post) และชนิดสะพานมีดทางเดียว เป็นต้น

5.ชุดท้ายแท่น (Tail Stock)

เป็นส่วนที่อยู่ด้านขวามือ ท้ายสุดของเครื่องกลึง ใช้สำหรับจับยันศูนย์ (Lathe Center) เพื่อใช้ประคองงานกลึงที่ยาว ๆ ไม่ให้สั้น หรือหัวจับส่วน (Drill Chuck) เพื่อจับดอกสว่าน (Drill) ดอกเจาะยันศูนย์(Center Drill) เป็นต้น

นอกจากนี้ยันศูนย์ท้ายแท่น ยังสามารถเยื้องศูนย์ เพื่อใช้ในการกลึงเรียวที่มีความยาวมาก ๆ ได้อีกวิธีหนึ่งยันศูนย์ท้ายแท่นสามารถเลื่อนไป-มา และล็อกได้ทุกตำแหน่งบนสะพานแท่นเครื่อง

6.สะพานแท่นเครื่อง (Bed)

เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุด ใช้รองรับส่วนต่างๆของเครื่องกลึงทำจากเหล็กหล่อส่วนบนสุดจะเป็นรายเลื่อน (Bed Way)ที่เป็นรูปตัววี คว่ำและส่วนแบน รางเลื่อนจะผ่านมาชุบผิวแข็งและขุดระดับมากแล้วจึงสึกหรอยากส่วนล่างสุดของสะพานแท่นเครื่องจะเป็นฐานรองและส่วนที่เก็บระบบปั๊มน้ำหล่อเย็น

7.ระบบป้อน (Feed Mechanism)

เป็นชุดที่มีความสัมพันธ์กับระบบส่งถึงการทำงานของเครื่องกลึง ซึ่งสามารถปรับความเร็วของเพลาหัวเครื่องได้ สามารถปรับอัตราป้อนกลึงตามแนวยาวและแนวขวาง ให้มีความหยาบหรือละเอียดสามารถกลึงอัตโนมัติและยังสามารถกลึงเกลียวได้ทั้งระบบอังกฤษ (หน่วยเป็นนิ้ว) และระบบเมตริก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) ระบบป้อนประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ คือ ชุดเฟืองป้อน ชุดเฟืองขับ เพลาป้อน และเพลานำ พัง ซึ่งแต่ละส่วนนี้จะมีการทำงานที่สัมพันธ์กันตลอดเวลา

8.ระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling Pump)

จะอยู่ที่ฐานรองของเครื่องกลึง ซึ่งจะประกอบด้วยปั๊ม (Pump) ที่จุ่มอยู่ในถังของน้ำหล่อเย็น และสายยางน้ำหล่อเย็นที่โผล่ขึ้นมา และจับยึดอยู่บนชุดแท่นเลื่อน ซึ่งจะพ่นน้ำหล่อเย็นตรงกับงานตลอดเวลา

 

และที่กำลังมองหาบริษัทที่รับกลึงงานด้วยเครื่อง CNC เชิญทางนี้ เพราะบริษัทสตีลโกรว์รับกลึงงานด้วยเครื่อง CNC รับ CNC วัสดุหลายหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น รับ CNC อลูมิเนียม, รับ CNC เหล็ก, รับ CNC สแตนเลส, รับ CNC ทองแดง, รับ CNC ทองเหลือง เป็นต้น และยังรับกลึงชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักรกล, รับกลึงชิ้นส่วนต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม, รับกลึงชิ้นส่วนยานยนต์, และงานออกแบบ โดยงานดังกล่าวได้ใช้กระบวนการผลิตที่มีขั้นตอนต่างๆ เช่นการเจาะ การกัด การกลึง การเจียร เป็นต้น โดยกระบวนการดังกล่าวจะใช้เครื่องจักร CNC Machining Center และเครื่องกลึง CNC เป็นเครื่องจักรหลักในการผลิตโดยมีเครื่องมือวัดที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำสูงในการตรวจสอบชิ้นงาน เรามีทีมงานผู้ชำนาญงานในการทำงานอย่างมืออาชีพ

สนใจติดต่อสอบภามได้ที่ 062-465-6158