วิธีการปรับเครื่องฉีดพลาสติก ที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะแนะนำให้ผู้อ่านได้ทราบถึง วิธีการปรับเครื่องฉีดพลาสติกกันค่ะ

วิธีการปรับเครื่องฉีดพลาสติก ที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย

วิธีการปรับเครื่องฉีดพลาสติก ที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย

หลักการอบเม็ดพลาสติกก่อนฉีด เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการอบเม็ดพลาสติกก่อนฉีด

วิธีการปรับเครื่องฉีดพลาสติก ที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ในการปรับเครื่องฉีดพลาสติก ในขณะที่ทำการฉีดพลาสติกอยู่นั้น ผู้ทำจะต้องมีการใช้จินตนาการที่สูงมาก เนื่องจากว่าคุณจะไม่มีทางรู้เลยว่า พลาสติกที่อยู่ในกระบอกสกรู หรือในแม่พิมพ์นั้นมีการไหล หรืออยู่ในสภาวะอย่างไรอยู่นั่นเองค่ะ ทำให้ผู้ปรับเครื่องฉีดพลาสติกต้องคาดเดาในหลาย ๆ ครั้งค่ะ อย่างไรก็แล้วแต่ การปรับเครื่องฉีดพลาสติกก็เทคนิคอยู่ค่ะ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะแนะนำให้ผู้อ่านได้ทราบถึง วิธีการปรับเครื่องฉีดพลาสติกกันค่ะ

1.ปรับอุณหภูมิ ของ barrel ให้สามารถหลอมเม็ดพลาสติกที่ค้างอยู่ในกระบอกได้

สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดพลาด และเสียหายต่อเครื่องฉีดพลาสติอยู่บ่อย ๆ คือ การปรับปุณหภูมิของ ปรับอุณภูมิ ของ barrel ที่ต่ำเกินไป ทำให้เม็ดพลาสติกที่ค้างอยู่ในเครื่องละลายไม่หมด และเมื่อช่างทำการหมุนสกรู หรือทำการ suck back จะทำให้สกู หรือสกรู ทิป ขาดได้ค่ะ เช่น หากคุณฉีดเม็ดพลาสติก ABS ซึ่งใช้ไฟ 250-290 C  อยู่ แล้วต้องการจะฉีดเม็ดพลาสติก PP ซึ่งใช้ไฟ 180-220 C  หล่ะก็ การปรับอุณหภูมิที่ถูกต้องนั้น คุณต้องปรับอุณหภูมิ ที่ 250 – 290 c ก่อน เพื่อให้เม็ด ABS ละลายให้หมดก่อนนั่นเองค่ะ

2.กดฉีด Injection เป็นอันดับแรกเท่านั้น

หลังจากทำการหยุดเครื่องฉีดพลาสติกไว้ เพื่อทำการขยับสกรูครั้งแรก เพราะถ้าขยับ suck back หรือ Feed เป็นอันดับแรก จะทำให้ สกรู และ screw tip เกิดความเสียหายได้

3.เมื่อต้องการจะหยุดเครื่องปั่นสกรู

คุณต้องแน่ใจก่อนว่า เม็ดพลาสติกที่อยู่ในกระบอกฉีดพลาสติกไม่มีหลงเหลือแม้แต่นิดเดียว จึงจะทำการ suck back สกรู ให้ถอยสุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อ สกรูและ screw tip เมื่อคุณเริ่มขยับสกรูใหม่ค่ะ

4.เทคนิคในการปรับ Feeding คือการปรับให้เม็ดพลาสติก

เพียงพอต่อการฉีดงาน 1 ตัวให้เต็มแม่พิมพ์ และสิ่งแรกที่คุณจำเป็นต้องรู้ คือ เครื่องฉีดพลาสติกที่คุณใช้งานอยู่นั้นสามารถฉีดได้น้ำหนักเท่าไหร่ โดยวัดได้จากการปั่นสกรูเอาเม็ดเข้าในกระบอกสกรูให้เต็ม เช่นเครื่องนี้มี Injection stork ที่ 200mm ให้ปั่นสกรูจนสกรูถอยไปถึงระยะ 200 mm แล้วทำการฉีดพลาสติกที่อยู่ในกระบอกสกรูออกมาให้สุดจนถึงระยะ 0 mm แล้วนำพลาสติกที่ฉีดออกมาไปช่างดูว่าน้ำหนักทั้งหมดได้กี่กรัม หากได้ 200 g ก็หมายความว่า ระยะ 1 mm ทำน้ำหนักได้ 1 g หากเราต้องการฉีดพลาสติกที่มีน้ำหนัก 100 g ก็ต้องปรับระยะ feeding ไว้ที่ 100 mm แต่ในการใช้งานจริงนั้น ผู้อ่านต้องเพิ่มระยะในการฉีดพลาสติก 10-30 % เพื่อให้มั่นใจจริง ๆ ว่า จะสามารถฉีดได้เต็มแม่พิมพ์นั่นเองค่ะ เช่น น้ำหนักฉีดอยู่ที่ 100 g และน้ำหนักฉีดที่เครื่องนี้ทำได้สูงสุดสำหรับเม็ดพลาสติกที่แอดมินใช้คือ 200 g ดังนั้นแอดมินจะตั้งระยะ Feeding ที่ 120 mm เพื่อให้ได้ น้ำหนัก 120 g เป็นต้นค่ะ

4 วิธีการขึ้นรูปพลาสติก การขึ้นรูปพลาสติกจะทำได้อย่างไรบ้างนะ

5.หลักในการหมุนสกรู โดยคำนึงถึง Pressure & Speed

คุณควรปรับ speed 3 steps ดังนี้

  • ระยะ 10% แรก ให้ปรับช้า และ เบาก่อน เพื่อป้องกันการเสียหายของระบบ สกรูและ motor ห้าดาว
  • ระยะ 11-90% ให้ปรับแรงดัน ‘ปกติ’ และความเร็ว ‘เร็ว’ ที่ทำให้เวลาปั้นกับเวลา cooling ใกล้เคียงกันที่สุด เพื่อให้เวลา cooling หมดพร้อมเวลา feeding นั่นเองค่ะ
  • ระยะ 91-100 % ของระยะที่ต้องการ ให้ปรับ ช้าและเบา เพื่อให้สกรูหยุดหมุนอย่างสมูทที่สุด จะทำให้ลดการสึกหลอของเครื่องฉีดพลาสติกนั่นเองค่ะ

ในการฉีดพลาสติกนั้น จะเกิดแงดันฉีดที่ screw tip ที่สูงมาก ซึ่งเมื่อทำการฉีดพลาสติกเข้าไปยังแม่พิมพ์แล้ว แรงดันดังกล่าวจะยังคงตกค้างอยู่ที่ screw tip และถ้าไม่มีการปลดแรงนี้ออกก่อนที่จะทำการ Feeding ก็จะทำให้เกิดแรงเสียดสี ที่ชุดแหวนของ screw tip ทำให้เกิดการสึกหลอ และเป็นเหตุให้เกิดอาการฉีดจมนั่นเองค่ะ ฉะนั้นผู้อ่านต้องทำการ First suck เพื่อบังคับให้แหวนที่ล๊อคแรงดันฉีดอยู่เปิดออกเพื่อปลดแรงดันที่ screw tip ค่ะ

6.ในการปรับฉีดเข้าแม่พิมพ์เป็นครั้งแรกนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

เพราะหากปรับไม่ถูกต้องจะทำให้เครื่องฉีดพลาสติกเกิดความเสียหายได้ ฉะนั้นควรขั้นตอนแรก คือ การปรับฉีดให้พลาสติกเข้าไปในแม่พิมพ์ ในระดับแรงดันที่ต่ำก่อน เพื่อดูว่าพลาสติกมีการไหลอย่างไร และแรงดันที่แนะนำในการฉีดครั้งแรก คือ ไม่ควรเกิน 40% ค่ะ

ส่วนเวลาในการฉีดครั้งแรกจุอยู๋ที่ 1-5 วินาที ขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงาน และความเร็วในการฉีดนั้นควรอยู่ที่ 50%  จากนั้นให้ผู้อ่านสังเกต ระยะสกรูที่ขยับเข้าไป  เช่น ระยะก่อนฉีดเท่ากับ 120 เมื่อฉีดเข้าไปแล้วให้ดูระยะว่า ระยะฉีดสุดท้ายอยู่ที่ระยะเท่าไหร่ หลังจากได้ชิ้นงานออกมาแล้ว หากงานยังไม่เต็มให้เพิ่มเวลาฉีดไปเรื่อยๆ จนงานเต็มแต่หากเพิ่มเวลาฉีดแล้วยังฉีดไม่เต็ม ก็ให้เพิ่มแรงดันฉีด เพื่อให้ฉีดงานจนเต็ม และทำอย่างนี้ไปจนกว่างานจะเต็มค่ะ

บริษัท ดีมาร์ค อุตสาหกรรม จำกัด เรารับฉีดพลาสติกทุกประเภทด้วยประสบการณ์ฉีดพลาสติกในประเทศไทยและส่งออกมากกว่า 30 ปี เราสามารถผลิตผลงานพลาสติกได้อย่างหลากหลายและมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล เราพร้อมที่จะให้บริการให้คำปรึกษาเรื่องฉีดพลาสติกทุกชนิด ขอแค่คิดและสร้างสรรค์งานขึ้นมา บริษัท ดีมาร์ค สามารถช่วยท่านในการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นสู่สังคมและประเทศชาติได้