รู้หรือไม่ ลมอัดในระบบนิวเมติกส์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

รู้หรือไม่ ลมอัดในระบบนิวเมติกส์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

รู้หรือไม่ ลมอัดในระบบนิวเมติกส์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

รู้หรือไม่ ลมอัดในระบบนิวเมติกส์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร สำหรับใครที่อยากรู้ว่าลมอัดในระบบนิวเมติกส์มีข้อดีข้อเสียอย่างไรต่ออุปกรณ์นิวเมติกส์ หรือระบบนิวเมติกส์บ้าง วันนี้แอดมินมีคำตอบมาบอกกัน จะเป็นอย่างไรตามแอดมินไปดูกันเลยค่ะ

ข้อดีของลมอัดในระบบนิวเมติก

  • ลมอัดในระบบนิวเมติกส์ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ราคาแพงสำหรับป้องกันการระเบิด
  • ลมอัดในระบบนิวเมติกส์จะมีความรวดเร็วในการทำงานสูง และลูกสูบลมยังมีความเร็วในการทำงาน 1 ถึง 2 เมตรต่อวินาที (m/s) ถ้าเป็นลูกสูบแบบพิเศษสามารถให้ความเร็วในการทำงานได้ถึง 10 เมตรต่อวินาที
  • การส่งลมอัดไปตามท่อในระยะทางไกล ๆ สามารถทำได้ง่าย และลมอัดที่ใช้แล้วไม่ต้องนำกลับ สามารถปล่อยทิ้งสู่ชั้นบรรยากาศได้เลย
  • ลมอัดในระบบนิวเมติกส์สามารถกักเก็บไว้ในถังเก็บลมได้ง่าย ดังนั้นอุปกรณ์ทำงานสามารถทำงานได้ต่อเนื่องจากการใช้ลมอัดนี้
  • ความปลอดภัยจากงานที่เกินกำลังของอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบลมอัด จะไม่เกิดการเสียหายถึงแม้ว่างานจะเกินกำลัง (Over Load)
  • การควบคุมอัตราความเร็ว ความเร็วของลูกสูบสามารถปรับได้ง่าย ๆ โดยใช้ วาล์วควบคุมอัตราการไหลของลม
  • การควบคุมความดัน ซึ่งความดันของลมอัดที่ต้องการสามารถควบคุมได้ง่าย โดยการใช้วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
  • ลมอัดในระบบนิวเมติกส์เป็นโครงสร้างที่ง่าย ๆ อย่างเช่น ลูกสูบลมจะมีโครงสร้างธรรมดามีการเคลื่อนที่ เป็นเส้นตรงจะไม่มีกลไกที่ยุ่งยากในส่วนอื่น ๆ อย่างเช่น แขนเหวี่ยง เยื้องศูนย์ เพลาเกลียว และอื่น ๆ
  • การตั้งค่าระยะช่วงชัก โดยการปรับระยะหยุด หรือช่วงชักของลูกสูบทำให้สามารถปรับระยะช่วงชักได้ทุกตำแหน่งจากน้อยสุดจนถึงมากสุดตามที่ต้องการ
  • อุณหภูมิขณะใช้งาน ลมอัดในระบบนิวเมติกส์ที่สะอาดปราศจากความชื้น สามารถทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง
  • ไม่ต้องใช้ท่อลมกลับ ลมอัดที่ใช้แล้วสามารถปล่อยทิ้งสู่บรรยากาศได้เลยไม่จำเป็นต้องมีท่อนำกลับ
  • เป็นอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่กะทัดรัด ทนทาน น้ำหนักเบา และซ่อมแซมบำรุงรักษาได้ง่าย

ข้อเสียของลมอัดในระบบนิวเมติก

  • ลมอัดในระบบนิวเมติกส์จะถูกอัดตัวได้ เนื่องจากอากาศสามารถอัดตัวได้ จึงทำให้การเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ทำงานไม่สม่ำเสมอ
  • ลมอัดมีความชื้น ลมอัดจะถูกทำให้เย็นลงหลังจากการถูกอัดเข้าในถังเก็บซึ่งจะทำให้เกิดการกลั่นตัวของหยดน้ำภายในถังเก็บลม และท่อลมในวงจร
  • ลมอัดต้องการเนื้อที่มาก เนื่องจากความดันที่ใช้ในวงจรนิวเมติกส์ไม่สูงมาก (ประมาณ  6  Bar) ทำให้กระบอกสูบลมต้องมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นถ้าต้องการใช้แรงมาก ๆ
  • ลมอัดในระบบนิวเมติกส์มีเสียงดัง เมื่อลมอัดระบายออกจากอุปกรณ์ทำงานไอเสียที่คายออกมาจะทำให้เกิดเสียงดังมาก ดังนั้นจึงต้องใช้ตัวเก็บเสียง (Silencer)
  • ความดันของลมเปลี่ยนแปลง ความดันของลมอัดจะเพิ่มขึ้นถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น และความดันจะลดลงถ้าอุณหภูมิต่ำลง

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : engineer180.com

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency