พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) คืออะไร ทางเลือกใหม่เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

พลาสติกชีวภาพคืออะไร

พลาสติกชีวภาพคืออะไร

พลาสติกชีวภาพคืออะไร พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) คืออะไร แม้ในยุคปัจจุบันที่ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจในเรื่องของการลดใช้พลาสติกกันมากยิ่งขึ้น แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าพลาสติกนั้นยังมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันของเราอยู่ไม่น้อย ผู้ประกอบการหลายท่านอาจกังวลใจในเรื่องของการใช้พลาสติกว่าธุรกิจของตนจะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งในวันนี้แอดมินจะพาทุกคนมารู้จักกับพลาสติกชีวภาพกันค่ะซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ยังจำเป็นต้องใช้พลาสติกในการดำเนินธุรกิจแต่ก็เป็นห่วงในเรื่องของผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมกันค่ะ

พลาสติก (Plastic) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเพื่อช่วยอํานวยความสะดวกในชีวิตประจําวัน จัดเป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยธาตุต่างๆ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน นอกจากนี้อาจมีธาตุอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ไนโตรเจน ฟลูออรีน คลอรีน และกํามะถัน เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันพลาสติกก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อนําไปฝังดินจะย่อยสลายยาก และใช้เวลานานทําให้ดินเสื่อมคุณภาพ หรือถ้านําไปเผาทําลายจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งสารที่ปนเปื้อนในอากาศนี้อาจเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษาค้นคว้าและผลิตพลาสติกชนิดใหม่ขึ้นมาทดแทนเพื่อช่วยลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม โดยเรียกพลาสติกชนิดใหม่นี้ว่า พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic)

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic)

พลาสติกชีวภาพเป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติและสามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ โดยวัสดุธรรมชาติที่นํามาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพมีหลายชนิดส่วนใหญ่จะได้มาจากพืช เช่น เซลลูโลส (cellulose) คอลลาเจน (collagen) เคซีน (casein) พอลิเอสเตอร์ (polyester) แป้ง (starch) และ โปรตีนจากถั่ว (soy protein) เป็นต้น ซึ่งแป้งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นิยมนํามาผลิตพลาสติกชีวภาพมากที่สุด เพราะหาได้ง่าย มีปริมาณมากและราคาถูก สําหรับประเทศไทยพืชที่นิยมนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกชีวภาพ คือ ข้าวโพดและมันสําปะหลัง เนื่องจากเป็นผลผลิตทางการเกษตรในไทยที่มีปริมาณมากและราคาถูก

พลาสติกชีวภาพเมื่อย่อยสลายหมดแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการเจริญเติบโตและดํารงชีวิตได้

ปัจจุบันมีการนําพลาสติกชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านด้วยกัน เช่น

  1. ด้านการแพทย์ โดยการนําพลาสติกชีวภาพมาผลิตเป็นวัสดุทางการแพทย์ เช่น ผิวหนังเทียม ไหมละลาย อุปกรณ์ประเภทสกรู และแผ่นดามกระดูกที่ฝังอยู่ในร่างกายที่สามารถย่อยสลายได้เอง
  2. ด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภค เช่น สารเคลือบกระดาษสําหรับห่ออาหาร หรือแก้วน้ำใช้แล้วทิ้ง ถุง สําหรับใส่ของ ถ้วยหรือถาดย่อยสลายได้สําหรับบรรจุอาหารสําเร็จรูปและอาหารจานด่วน ฟิล์มและถุงพลาสติก ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสําหรับใช้ใส่ขยะเศษอาหาร โฟมเม็ดกันกระแทก เป็นต้น
  3. ด้านการเกษตร นิยมนํามาผลิตเป็นแผ่นฟิล์มสําหรับคลุมดิน และวัสดุสําหรับการเกษตร เช่น แผ่นฟิล์ม ป้องกันการเติบโตของวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งถุงหรือกระถางสําหรับเพาะต้นกล้า

กลไกการย่อยสลายของพลาสติก แบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. การย่อยสลายได้โดยแสง (Photodegradation)
  2. การย่อยสลายทางกล (Mechanical Degradation)
  3. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative Degradation)
  4. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolytic Degradation)
  5. การย่อยสลายทางชีวภาพ (Biodegradation)

ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพได้รับความสนใจมากเนื่องจากผลิตมาจากพืชหรือวัตถุดิบในธรรมชาติ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการผลิตต่ำ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ นอกจากนี้กระแสอนุรักษ์ธรรมชาติ และความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกําลังเผชิญร่วมกัน ส่งผลให้พลาสติกชีวภาพกลายเป็นวัสดุแห่งอนาคตที่ได้รับความต้องการมากขึ้น

บริษัท ดีมาร์ค อุตสาหกรรม จำกัด เรารับฉีดพลาสติกทุกประเภทด้วยประสบการณ์ฉีดพลาสติกในประเทศไทยและส่งออกมากกว่า 30 ปี เราสามารถผลิตผลงานพลาสติกได้อย่างหลากหลายและมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล เราพร้อมที่จะให้บริการให้คำปรึกษาเรื่องฉีดพลาสติกทุกชนิด ขอแค่คิดและสร้างสรรค์งานขึ้นมา บริษัท ดีมาร์ค สามารถช่วยท่านในการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นสู่สังคมและประเทศชาติได้