7 ประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่นำไปรีไซเคิลได้ รู้ไว้ ใช้ และแยกให้เป็น พาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้

7 ประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่นำไปรีไซเคิลได้

7 ประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่นำไปรีไซเคิลได้

เทคนิคการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์
เทคนิคการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์

7 ประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่นำไปรีไซเคิลได้ ในชีวิตประจำวัน พวกเราทุกคนได้คุ้นเคยกับพลาสติกเป็นอย่างดี เพราะเราได้เจอกับพลาสติกตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา จนกระทั่งเข้านอนกันเลยทีเดียวค่ะ ไม่ว่าจะเป็นด้ามจับแปรงสีฟัน ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ แต่เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านยังไม่คุ้นเคยกับการแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เสร็จแล้วได้อย่างถูกต้องกัน ดังนั้นในบทความนี้แอดมินจะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับ 7 ประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่นำไปรีไซเคิลได้กันค่ะ

7 บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ มีดังนี้

1.บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก Polyethylene Terephthalate มีความเหนียวและสามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี และเป็นพลาสติกที่ไม่ยอมให้แก็สผ่านเข้าไปได้ คนจึงนิยมนำไปผลิตเป็นขวดน้ำดื่ม และขวดน้ำมันพืช บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจากโพลีเอทิลีน เทอร์ฟะธาเลต จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิลเป็นหมายเลข 1 ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใยทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์ในหมอน

2. บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก High-density Polyethylene มีความหนาแน่นสูง ทำให้มีความแข็งแรงทนทาน และเป็นพลาสติกที่ไม่ยอมให้ความชื้นผ่านเข้าไปได้ คนจึงนิยมนำไปผลิต ขวดนม ขวดเครื่องสำอาง ถุงพลาสติก ถังขยะ และถังบรรจุสารเคมี เป็นต้น บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิลเป็นหมายเลข 2 ซึ่งสามารถนำมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก และไม้เทียมได้ค่ะ

3. บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก Polyvinyl Chloride มีความแข็งแรงทนทานมาก และสามารถป้องกันน้ำมัน แต่น้ำและอากาศสามารถผ่านเข้าไปได้ คนจึงนิยมนำไปผลิต  ท่อน้ำประปา หนังเทียม ฉนวนหุ้มสายไฟ และขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจากโพลีไวนิลคลอไรด์ จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิลเป็นหมายเลข 3 ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปา กรวยจราจร และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

4. บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก Low-density Polyethylene จะมีความโปรงแสง และมีความหนาแน่นต่ำ ถูกนำไปใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็ง แผ่นฟิล์ม ถุงใส่ของ และสายหุ้มทองแดง บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิลเป็นหมายเลข 4 ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ถุงหูหิ้ว และถุงดำสำหรับใส่ขยะ เป็นต้น 

5. บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก Polypropylene จะมีน้ำหนักเบาที่สุด แต่มีความแข็งแรงสูง สามารถทนต่อแรงกระแทก และทนต่อความร้อนได้ดี จึงถูกนำไปใช้ในการผลิตบานพับ ฝาขวด ภาชนะบรรจุอาหาร ถุงร้อน และหลอดดูด บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก โพลีโพรพิลีน จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิลเป็นหมายเลข 5 ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นชิ้นส่วนในรถยนต์ และไม้กวาดพลาสติก

6. บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก Polystyrene มีความโปรงใส เปราะบางง่าย แต่สามารถทนกรดและด่างได้ดี พลาสติกประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาชนะ เช่น ถ้วยพลาสติก และจานพลาสติก เป็นต้น บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำมาจาก โพลีสไตรีน จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิลเป็นหมายเลข 6 ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลเป็น ไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด แผงสวิตช์ไฟ และถาดใส่ไข่

7. พลาสติกอื่น ๆ (Other) เป็นสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ได้ทำมาจากพลาสติก 6 ประเภทข้างต้นที่กล่าวไป ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความโปรงใส มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี นิยมนำมาใช้ในการผลิตปากกา ขวดนมเด็ก หมวกนิรภัย ไฟจราจร ป้ายโฆษณา เป็นต้น พลาสติกอื่น ๆ จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิลเป็นหมายเลข 7 นั่นเองค่ะ  

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับวิธีการแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่คุณใช้เป็นประจำ ? เมื่อรู้ดังนี้แล้ว แอดมินหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถแยกขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกได้ถูกต้องเพื่อโลกของเรากันนะคะ

หากใครที่กำลังหาบรรจุภัณฑ์พลาสติกอยู่ วี.เค.พลาสติก เรารับผลิตบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเรามีประสบการณ์ในวงการอุตสาหกรรมมากกว่า 30 ปี เรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ หรือการผลิตบรรจุภัณฑ์ สามารถสอบถาม และปรึกษากับเราได้ นอกจากนี้เรายังมีบริการออกแบบ และผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยให้คุณสามารถเป็นเจ้าของบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามในรูปแบบของตนเองได้ในราคาที่ย่อมเยา อีกทั้งเรายังมีบริการสำหรับให้คำปรึกษาแนะนำสำหรับผู้ที่เริ่มทำธุรกิจอีกด้วย

หากสนใจที่จะผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษาเราได้ตลอดเวลา เรามีพนักงานพร้อมให้คำปรึกษากับคุณ สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่

Tel : 02 529 5961

Line@ : @479hrrbs

Website : www.vkplastic.com