การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ แปลงปลูกอ้อยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถตัดมีความสำคัญมาก จากการศึกษาเรื่องต้นทุนของการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในรถตัดอ้อย เพื่อรับจ้างเชิงพาณิชย์พบว่าปัจจัยที่ เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยมีดังนี้

  1. สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3% มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีก้อนหิน ตอไม้ และต้นไม้ในแปลงอ้อย เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูงๆ หรือไม่มีการระบายน้ำที่ดีจะทำให้รถตัดอ้อยและรถบรรทุกอ้อยเกิดพลิกคว่ำหรือติดหล่มในขณะทำงาน และการที่มีก้อนหิน ตอไม้ ต้นไม้ในแปลงอ้อยจะทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยหรือชุดใบมีดสับท่อนของรถตัดอ้อยเกิดการเสียหายได้
  2. ขนาดแปลงอ้อย ขนาดแปลงอ้อยที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของพื้นที่ควรมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป มีความยาวของแถวอ้อยหรือแนวปลูกอ้อยยาวกว่า 100 เมตรขึ้นไป หรือยิ่งยาวมากเท่าไรยิ่งดี เนื่องจากรถตัดอ้อยและรถบรรทุกสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องกลับรถเพื่อขึ้นแถวใหม่บ่อย ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองค่าน้ำมันมากขึ้น
  3. ถนนหัวแปลงและท้ายแปลงอ้อยควรมีความกว้างของถนนมากกว่า 3 เมตร เพื่อความสะดวกในการกลับรถ สำหรับแปลงอ้อยที่ไม่มีถนนหัวแปลงและท้ายแปลง จำเป็นต้องให้รถตัดอ้อยทำการเปิดหัวแปลงและท้ายแปลงโดยการตัดอ้อยในแปลงเพื่อให้สามารถกลับหัวรถได้ แต่จะส่งผลให้คือ ตออ้อยบริเวณหัวแปลงและท้ายแปลงถูกรถตัดอ้อยและรถบรรทุกทับเสียหาย อีกทั้งการกลับหัวรถภายในแปลงอ้อยอาจส่งผลต่อความเสียหายของรถตัดอ้อยและรถบรรทุกได้ เนื่องจากต้องข้ามแถวอ้อยที่มีความสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลและอาจพลิกคว่ำได้
  4. ถนนข้างแปลงอ้อย เนื่องจากรถตัดอ้อยต้องทำงานควบคู่ไปกับรถบรรทุก จึงควรมีพื้นที่ขนาด 3 เมตรขึ้นไปบริเวณข้างใดข้างหนึ่งสำหรับรถตัดอ้อยและรถบรรทุก เพื่อให้รถทั้ง 2 สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ แต่หากไม่มีถนนข้างแปลงรถตัดอ้อย จะต้องตัดอ้อยในแถวแรกหรือร่องแรกแล้วเก็บไว้ในกระพ้อเก็บอ้อย จากนั้นรถตัดอ้อยจะต้องถอยกลับมาเพื่อลำเลียงอ้อยใส่รถบรรทุกที่จอดอยู่บริเวณนอกแปลง ส่งผลให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองน้ำมัน
  5. ระยะห่างระหว่างแถวที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยคุณภาพดีควรมีระยะประมาณ 1.5 – 4 เมตร หากระยะห่างระหว่างแถวอ้อยน้อยกว่า 1.4 เมตรจะส่งผลให้อ้อยในแถวถัดไปเกิดความเสียหายจากรถตัดอ้อยแต่ในขณะเดียวกันหากมีระยะห่างระหว่างแถวอ้อยมากกว่า 1.5 เมตรจะ ส่งผลให้สูญเสียพื้นที่ในการปลูกอ้อยโดยเปล่าประโยชน์
  6. สันร่องหรือสันแถวอ้อยที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยควรมีลักษณะโค้งมน บริเวณยอดสันแบนราบเล็กน้อย มีความสูงของสันร่องประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยสามารถที่จะตัดอ้อยได้ชิดพื้นดินพอดีและส่งผลให้ตออ้อยมีความสม่ำเสมอกับพื้นดิน แต่ในกรณีที่สันร่องมีความสูงมากกว่า 15 เซนติเมตร ส่งผลให้รถตัดอ้อยยกช่องล้อสูงขึ้นและใบมีดตัดโคนอ้อยสัมผัสดินมากเกินไปทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยเกิดการสึกหรอเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากสันร่องมีความสูงต่ำกว่า 15 เซนติเมตรหรือมีสันร่องในระดับเดียวกันกับพื้นดิน ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้หมดและหากสันร่องอยู่ต่ำกว่า พื้นดินใบมีดตัดโคนของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้ถึงโคนอ้อย เป็นผลให้ตออ้อยเหลือยาวเกินไป

Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency