การหีบอ้อย วิธีการในการหีบอ้อยนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

การหีบอ้อย

การหีบอ้อย

ช่วงที่สำคัญของชาวเกษตรกรไร่อ้อยและชาวโรงงานน้ำตาลอีกช่วงหนึ่งนั้นก็คือ ช่วงของการ หีบอ้อย หรือเป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาลนั่นเองค่ะ ซึ่งในวันนี้แอดมินจะพาผู้อ่านทุกท่าน มาศึกษาถึงวิธีการหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาล หรือโรงงานชีวมวลกันดีกว่าค่ะ ว่ากว่าท่อนอ้อยจะถูกลำเลียงส่งไปยังโรงงานน้ำตาลนั้น จะต้องวิธีการในการหีบอ้อยอย่างไรกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ

การรับอ้อย-เตรียมอ้อย

อ้อยที่เก็บเกี่ยวจากไร่จะถูกขนถ่ายมาถึงโรงงานจะผ่านการชั่งน้ำหนัก หลังจากนั้น อ้อยจะถูกเทลงบนสะพานอ้อยบริเวณแท่นเทและลงสู่สายพานลำเลียง อ้อยจากสายพานลำเลียงจะไหลเข้าสู่เครื่องตีอ้อย(leveller) เครื่องสับอ้อย เครื่องย่อยอ้อย (shredder) เพื่อทุบและฉีกย่อยท่อนอ้อยให้เป็นฝอยละเอียด ซึ่งจะช่วยให้สามารถสกัดน้ำอ้อยออกจากอ้อยได้มากที่สุด

การหีบอ้อย

อ้อยที่ผ่านการเตรียมจนเป็นเส้นฝอยละเอียด จะถูกลำเลียงเข้าไปในชุดลูกหีบที่ทำหน้าที่สกัดน้ำอ้อยออก โดยมีการฉีดพรมน้ำร้อนลงบนท่อนกากอ้อย เพื่อเจือจางน้ำอ้อยเข้มข้นที่ติดค้างอยู่ภายในกากอ้อยที่ออกจากลูกหีบลูกหน้าของลูกหีบชุดสุดท้าย และส่งน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้ายย้อนข้ามชุดที่ขวางหน้าไปพรมกากอ้อยที่ออกจากลูกหีบลูกหน้า น้ำอ้อยที่สกัดออกมาได้ยังมีสิ่งปนเปื้อนจำพวกดิน ทราย และเศษกากอ้อยละเอียดปะปนอยู่ค่อนข้างมาก จึงถูกสูบเข้าตะแกรงหมุน เพื่อกรองเอากากอ้อยละเอียดที่ปนมาในน้ำอ้อยรวมออก

น้ำอ้อยที่ผ่านการกรองแล้วจะถูกส่งต่อไปยังถังพัก เพื่อรอส่งไปกระบวนการทำใส และต้มเคี่ยวผลิตน้ำตาลทรายดิบต่อไป ส่วนกากอ้อยละเอียดที่แยกได้จะถูกส่งกลับไปทำการสกัดน้ำอ้อยที่หน้าลูกหีบหรืออาจใช้เป็นสารช่วยกรองให้ขั้นตอนการทำน้ำอ้อยใส

สำหรับกากอ้อยที่ออกจากลูกหีบชุดสุดท้าย ซึ่งมีน้ำตาลเหลืออยู่น้อยมากและมีความชื้นประมาณร้อยละ 52 ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในหม้อน้ำเพื่อผลิตไอน้ำมาให้ในกระบวนการผลิตและผลิตไฟฟ้าต่อไป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับขั้นตอนของการ การรับอ้อย-เตรียมอ้อยและการการหีบอ้อยของชาวโรงงานน้ำตาลและโรงงานชีวมวล ทั้งนี้คุณผู้อ่านจะเห็นได้ว่าชาวโรงงานน้ำตาลและโรงงานชีวมวลจะต้องมีการใช้อ้อยจำนวนมากในการทำน้ำตาลและการนาเป็นพลังงานเชื้อเพลิงต่อไป ในวันนี้แอดมิน จะขอแนะนำกับเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะช่วยในการทุ่นแรงอย่าง รถคีบอ้อย จาก Thai-A กันค่ะ ด้วยคุณสบัติดังนี้

รายละเอียดรถคีบอ้อย

  • การบังคับเลี้ยว SKID STEER (เท้าบังคับ)
  • เครื่องยนต์ GERMANY 55 HP ชนิด Air cool ไม่มีหม้อน้ำลดปัญหาหม้อน้ำแตกรั่ว
  • อัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิงต่อชั่วโมง 2-4 ลิตรต่อชั่วโมง
  • ปริมาณงานที่ได้ต่อชั่วโมง  40-60 ตันต่อชั่วโมง
  • ค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำมันต่อตัน 2.00 บาท/ตัน
  • ค่าใช้จ่ายด้านคนขับต่อตัน 1.50 บาทต่อตัน
  • รวมค่าใช้จ่ายน้ำมันและคนขับต่อตัน 4 บาท/ตัน
  • ปริมาณงานที่ได้ต่อวัน (โดยประมาณ) 400-600 ตันต่อวันต่อ 10 ชั่วโมงทำงาน
  • ค่าบำรุงรักษาต่อเดือน (ต่อตันไม้หรือวัตถุดิบ) 4,087 บาทต่อเดือน (0.23 บาทต่อตัน)
  • ระยะเวลาคืนทุนโดยประมาณ 18 เดือน (เทียบกับการใช้แบคโฮตั้งแต่ขนาด 155 แรงม้าขึ้นไป)
  • ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooling) ไม่มีหม้อน้ำบำรุงรักษาง่าย
  • รัศมีการเลี้ยว/การเคลื่อนตัวเป็นวงกลมหมุนได้คล่องตัว 18 km/ชั่วโมง ใช้การหยุดล้อและหมุนตัว
  • การบำรุงรักษา ง่าย ระบบไม่ซับซ้อน ซ่อมเองได้ ไม่ต้องเข้าศูนย์หลัง *จากหมดประกัน 1ปี
  • ห้องคอนโทรลและระบบควบคุม ระบบควบคุมแบบมือโยกง่ายต่อการซ่อมบำรุงซ่อมเองได้ไม่ต้องรอช่างศูนย์
  • ต้นทุนในการบริหารวัตถุดิบต่อตัน  4.23 บาทต่อตัน

Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถคีบไม้ รถตัดอ้อย รถคีบอ้อยและรถคีบก้อนใบอ้อย ภายใต้ยี่ห้อ แม็กส์ (MAX) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถคีบไม้ สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854 , 081 721-0680

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency