เทคนิคการดูแลรักษา ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น

เทคนิคการดูแลรักษาระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น

เทคนิคการดูแลรักษา-ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น

เทคนิคการดูแลรักษาระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น ระบบนิวเมติกส์ในปัจจุบันถูกนำมาใช้งานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง เพื่อลดปริมาณแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแทนแรงงานคน แต่การใช้งานในอุตสาหกรรมนั้นมักจะมีการใช้งานที่ต่อเนื่องและยาวนาน การใช้งานที่ผิดวิธีหรือขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมนั้นจะทำให้การใช้งานของระบบนิวเมติกส์นั้นไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร และมีผลต่อการใช้งานที่สั้นลงอีกด้วย

ดังนั้น การบำรุงรักษาอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น เราสามารถดำเนินการได้เบื้องต้น โดยสามารถดูคู่มือการใช้งาน เอกสารคำอธิบายที่ผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์เหล่านั้นจะจัดเตรียมมาให้พร้อมกับสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดพร้อมข้อควรระวังอยู่ด้วย

เทคนิคการดูแลรักษา ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น

เทคนิคควรปฏิบัติในระบบนิวเมติกส์

ระบบลมอัดเป็นระบบต้นกำลังที่มีพื้นฐานด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีระดับนึง ถ้าเราให้ความเอาใจใส่ดูแลระบบนิวเมติกส์อย่างสม่ำเสมอ ในระหว่างการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบ มีข้อพึงระวังที่ต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องมั่นใจว่าทำการปิดระบบและถ่ายลมอัดออกจากระบบจนหมดก่อนดำเนินการถอดท่อลมอัดหรือข้อต่อ
  2. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ทำงานทุกชนิด เช่น กระบอกลมนิวเมติกส์ อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกระแทกและก่อให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหาย
  3. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ข้อต่อ และสายลมอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ
  4. ควรระมัดระวังการทำงานของกระบอกลมนิวเมติกส์ ขณะกำลังเคลื่อนที่ออกหรือเข้าจนเกือบสุดระยะชักแล้ว เพราะถ้ายังไม่หยุดนิ่งก็ยังอาจเป็นอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้
  5. อย่าคิดว่ากระบอกลมจะมีความเร็วที่สม่ำเสมอตลอดเวลา คงไม่เป็นปัญหา
  6. อย่าคิดว่าขั้นตอนการทำงาน (Sequence) จะทำซ้ำเหมือนเดิมทุกครั้งไป

ในกรณีทีมีการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระหว่างการทำงานโดยใช้ปุ่มสัญญาณฉุกเฉินหยุดเครื่องจักรควรคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  1. กระบอกลมนิวเมติกส์อาจเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงของชิ้นงาน
  2. กระบอกลมนิวเมติกส์อาจเคลื่อนที่ได้ เมื่อมีการถอดสายลมสัญญาณ
  3. การทำงานหยุดชั่วขณะอันเป็นผลมาจากการสูญเสียแรงดันลม

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่กล่าวมาข้างต้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบความปลอดภัยในเครื่องจักรบางเครื่อง อาจกำหนดเงื่อนไขด้านความปลอดภัย โดยการควบคุมแรงดันลม พนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงควรมีความรู้และความคุ้นเคยเกี่ยวกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ อย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency