ระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดมีการควบคุมต่างกันอย่างไร
ระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดมีการควบคุมต่างกันอย่างไร อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าในปัจจุบันนี้ระบบนิวเมติกส์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก จึงได้มีชุดควบคุมระบบนิวเมติกส์เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะแบ่งวงจรควบคุมออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันนั่นก็คือ วงจรกำลัง (Power Circuit) และวงจรควบคุม (Control Circuit ) โดยวงจรกำลังจะอาศัยลมอัดเป็นตัวกลางในการส่งกําลังเพื่อควบคุมวงจรการทำงาน ส่วนวงจรควบคุมจะใช้ตัวควบคุมได้หลายอย่าง เช่น ระบบไฟฟ้า พีแอลซีและไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นต้น
การควบคุมระบบนิวเมติกส์ สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลม
ระบบนิวเมติกส์ ทุกระบบจะต้องใช้ลมอัดเป็นตัวกลางในการส่งกำลัง ซึ่งการควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลมระบบนี้ก็เช่นกัน เป็นการทำงานที่จะประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายลม อุปกรณ์ให้สัญญาณ อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว และอุปกรณ์ทำงาน แต่การทำงานในระบบนิวเมติกส์เมื่อใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ 2 กระบอกขึ้นไป การทำงานของวงจรอาจเกิดสัญญาณลมต้านจากการออกแบบระบบการทำงาน การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลมที่เกิดสัญญาณลมต้าน สามารถแก้ไขได้ดังนี้
- ใช้วาล์วลูกกลิ้งทางเดียว (Roller on way valve)
- ใช้วาล์วให้สัญญาณลมผ่านชั่วขณะ (One Short Valve)
- ใช้วิธีแบ่งกลุ่มลมแบบเเคสเคด (Cascade Control)
- ใช้วิธีแบ่งกลุ่มลมแบบชิฟต์รีจีสเตอร์ (Shift Register Control)
การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้า
การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้าจะแบ่งวงจรการควบคุมออกเป็น 2 ชนิดคือ
- วงจรกำลัง (Power Circuit) เป็นวงจรควบคุมการทำงานของระบบนิวเมติกส์ประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายลม (control unit) ชุดควบคุมคุณภาพลมอัด (Air Service Unit) โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) ลูกสูบ (Air Cylinder) เป็นต้น
- วงจรควบคุม (Control Circuit) เป็นวงจรควบคุมการทำงานของระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้าประกอบไปด้วย สวิตช์ปุ่มกด (Pushbuttom Switch) รีเลย์ (Relay) ตัวตั้งเวลา (Timer) ตัวนับเวลา (Counter) เซนเซอร์ (Sensor) เป็นต้น
การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยพีแอลซี
การใช้พีแอลซีควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีความสะดวกมากในปัจจุบัน เพราะในตัวของพีแอลซีนั้น จะมี Input/Output Ports ตลอดจนอุปกรณ์ควบคุมภายใน เช่น Relay, Timer และ Counter จะเป็นอุปกรณ์ซึ่งอยู่ในซอฟต์แวร์ ทำให้การเรียกใช้หรือแก้ไขสะดวกรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายลงอีกด้วย ปัจจุบันภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมพีแอลซีสามารถแบ่งออกเป็น 3 ภาษา ดังนี้
- ภาษาบูลีน (STL ; Instruction List Boolean Logic Element)
- ภาษาแลดเดอร์ (Ladder Diagram)
- ภาษาบล็อก (Function Chart)
การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบนิวเมติกส์ในปัจจุบันยังไม่นิยมมากนัก แต่นิยมใช้ควบคุมเครื่องจักรและระบบการผลิตในอุตสาหกรรมเพราะจะต้องศึกษาหลายอย่าง และรู้เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการทำงานอย่างแท้จริง
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@teacgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency